ประเทศไทย หรือชื่อทางการว่า ราชอาณาจักรไทย เป็นรัฐชาติอันตั้งอยู่บนคาบสมุทรอินโดจีนและมลายู
ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
มีพรมแดนด้านตะวันออกติดประเทศลาวและประเทศกัมพูชา
ทิศใต้เป็นแดนต่อแดนประเทศมาเลเซียและอ่าวไทย
ทิศตะวันตกติดทะเลอันดามันและประเทศพม่า
และทิศเหนือติดประเทศพม่าและลาว มีแม่น้ำโขงกั้นเป็นบางช่วง
ปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตยแบบมีรัฐสภา
มีศูนย์กลางการบริหารราชการแผ่นดินอยู่ที่กรุงเทพมหานคร
และการปกครองส่วนภูมิภาค จัดระเบียบเป็น 76
จังหวัด ประเทศไทยมีขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 50 ของโลก มีเนื้อที่ 513,115 ตารางกิโลเมตรและมีประชากรมากเป็นอันดับที่ 20 ของโลก คือ ประมาณ 66
ล้านคนกับทั้งยังเป็นประเทศอุตสาหกรรมใหม่โดยมีรายได้หลักจากภาคอุตสาหกรรมและการบริการไทยมีแหล่งท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงเป็นอันมาก
อาทิ พัทยา, ภูเก็ต, กรุงเทพมหานคร
และเชียงใหม่
ซึ่งสร้างรายได้ให้แก่ประเทศ
เช่นเดียวกับการส่งออกอันมีส่วนสำคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจและด้วยจีดีพีของประเทศ
ซึ่งมีมูลค่าราว 334,026 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ตามที่ประมาณใน พ.ศ. 2553
เศรษฐกิจของประเทศไทยนับว่าใหญ่เป็นอันดับที่ 30 ของโลก
คำว่า "สยาม" เป็นคำที่ชาวต่างประเทศใช้เรียกอาณาจักรอยุธยา เมื่อราว
พ.ศ. 2000 เดิมทีประเทศไทยเองก็เคยใช้ชื่อว่า สยาม มานับตั้งแต่รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นต้นมา
โดยปรากฏใช้เป็นชื่อประเทศชัดเจนใน พ.ศ. 2399 แต่ทว่าคนไทยไม่เคยเรียกตนเองว่า
"สยาม" หรือ "ชาวสยาม"
อย่างชาวต่างชาติหรือตามชื่อประเทศอย่างเป็นทางการในสมัยนั้นเลย ส่วนคำว่า
"คนไทย" นั้น จดหมายเหตุลาลูแบร์ได้บันทึกไว้อย่างชัดเจนว่า
ชาวอยุธยาได้เรียกตนเองเช่นนั้นมานานแล้ว
ต่อมา เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2482 ตามประกาศรัฐนิยม
ฉบับที่ 1 ในสมัยรัฐบาลจอมพล
ป. พิบูลสงคราม (ซึ่งประกาศใช้เมื่อ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2482) ได้เปลี่ยนชื่อประเทศ พร้อมกับเรียกประชาชน
และสัญชาติจาก "สยาม" มาเป็น "ไทย" ซึ่งจอมพล ป.
มีเจตนาต้องการบ่งบอกว่าดินแดนนี้เป็นของชาวไทย
มิใช่ของเชื้อชาติอื่น ตามลัทธิชาตินิยมในเวลานั้นโดยในช่วงต่อมาได้เปลี่ยนกลับเป็นสยามเมื่อปี
พ.ศ. 2488 แต่ก็ได้เปลี่ยนกลับมาชื่อไทยอีกครั้งเมื่อปี พ.ศ. 2491
ซึ่งเป็นช่วงที่จอมพล ป. พิบูลสงครามเป็นนายกรัฐมนตรี
การเปลี่ยนชื่อในครั้งนี้ยังเปลี่ยนจาก "Siam" ในภาษาอังกฤษและภาษาฝรั่งเศส
เป็น "Thaïlande" ในภาษาฝรั่งเศส และ "Thailand"
ในภาษาอังกฤษอย่างในปัจจุบัน อย่างไรก็ตาม ชื่อ สยาม
ยังคงเป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลายทั้งในและต่างประเทศ
ชื่อประเทศไทยในภาษาอังกฤษมักถูกจำสับสนกับไต้หวันอยู่บ่อย
ๆ
ประเทศไทยมีลักษณะภูมิประเทศที่หลากหลาย ภาคเหนือเป็นพื้นที่ภูเขาสูงสลับซับซ้อน
จุดที่สูงที่สุดในประเทศไทย คือ ดอยอินทนนท์ ณ 2,565 เมตรเหนือระดับน้ำทะเล รวมทั้งยังปกคลุมด้วยป่าไม้อันเป็นต้นน้ำที่สำคัญของประเทศ
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ของที่ราบสูงโคราช
สภาพของดินค่อนข้างแห้งแล้งและไม่ค่อยเอื้อต่อการเพาะปลูก แม่น้ำเจ้าพระยาเกิดจากแม่น้ำปิงและยมที่ไหลมาบรรจบกันที่ปากน้ำโพ
จังหวัดนครสวรรค์ ทำให้ภาคกลางกลายเป็นที่ราบลุ่มแม่น้ำที่มีความอุดมสมบูรณ์ที่สุดในประเทศ
และถือได้ว่าเป็นแหล่งปลูกข้าวที่สำคัญแห่งหนึ่งของโลก ภาคใต้เป็นส่วนหนึ่งของคาบสมุทรไทย-มาเลย์
ขนาบด้วยทะเลทั้งสองด้าน มีจุดที่แคบลง ณ คอคอดกระ แล้วขยายใหญ่เป็นคาบสมุทรมลายู ส่วนภาคตะวันตกเป็นหุบเขาและแนวเทือกเขาซึ่งพาดตัวมาจากทางตะวันตกของภาคเหนือแม่น้ำเจ้าพระยาและแม่น้ำโขงถือเป็นแหล่งเกษตรกรรมที่สำคัญของประเทศไทย
การผลิตของภาคอุตสาหกรรมการเกษตรจะต้องอาศัยผลผลิตที่เก็บเกี่ยวได้จากแม่น้ำทั้งสองและสาขาทั้งหลาย
อ่าวไทยมีพื้นที่ประมาณ 320,000 ตารางกิโลเมตร รองรับน้ำซึ่งไหลมาจากแม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำแม่กลอง แม่น้ำบางปะกง และแม่น้ำตาปี ถือเป็นแหล่งดึงดูดนักท่องเที่ยว
เนื่องจากน้ำตื้นใสตามแนวชายฝั่งของภาคใต้และคอคอดกระ นอกจากนี้
อ่าวไทยยังเป็นศูนย์กลางทางอุตสาหกรรมของประเทศ เพราะมีท่าเรือหลักที่สัตหีบ
ถือได้ว่าเป็นประตูที่จะนำไปสู่ท่าเรืออื่น ๆ ในกรุงเทพมหานคร
ภาคใต้มีสถานที่ท่องเที่ยวซึ่งดึงดูดนักท่องเที่ยวมาก นักท่องเที่ยวมักเดินทางมาเยือนเสมอ
ตั้งแต่จังหวัดภูเก็ต จังหวัดกระบี่ จังหวัดระนอง จังหวัดพังงา จังหวัดตรัง
และหมู่เกาะตามแนวชายฝั่งของทะเลอันดามันภูมิอากาศของไทยเป็นแบบเขตร้อน หรือแบบสะวันนา มีอุณหภูมิเฉลี่ย
18-34 °C
และมีปริมาณฝนตกเฉลี่ยตลอดปีกว่า 1,500 มิลลิเมตร
สามารถแบ่งได้เป็น 3 ฤดูกาล: ระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ถึงเดือนเมษายนเป็นฤดูร้อน
ระหว่างเดือนพฤษภาคมถึงเดือนตุลาคมเป็นฤดูฝน
ประเทศไทยได้รับอิทธิพลจากลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้จากทะเลจีนใต้และพายุหมุนเขตร้อน
ส่วนในเดือนพฤศจิกายนถึงกลางเดือนมีนาคมเป็นฤดูหนาว
ประเทศไทยได้รับอิทธิพลจากลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือจากประเทศจีน ส่วนภาคใต้มีสภาพอากาศแบบป่าดงดิบ
ซึ่งมีอากาศร้อนชื้นตลอดทั้งปี จึงสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ฤดู คือ ฤดูฝนและร้อน
โดยฝั่งทะเลตะวันออก ฤดูร้อนเริ่มตั้งแต่เดือนพฤษภาคมถึงเดือนกันยายน
และฝั่งทะเลตะวันตก ฤดูร้อนเริ่มตั้งแต่เดือนพฤศจิกายนถึงเดือนเมษายนประเทศไทยมีความหลากหลายทางชีวภาพของทั้งพืชและสัตว์อยู่มาก
อันเป็นรากฐานอันมั่นคงของการผลิตในภาคการเกษตร
และประเทศไทยมีผลไม้เมืองร้อนหลากชนิด พื้นที่ราว 29% ของประเทศไทยเป็นป่าไม้
รวมไปถึงพื้นที่ปลูกยางพาราและกิจกรรมปลูกป่าบางแห่ง
ประเทศไทยมีเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่ากว่า 50 แห่ง เขตห้ามล่าสัตว์ป่าอีก 56 แห่ง
โดยพื้นที่ 12% ของประเทศเป็นอุทยานแห่งชาติ (ปัจจุบันมี
110 แห่ง) และอีกเกือบ 20% เป็นเขตป่าสงวน ประเทศไทยมีพืช 15,000 สปีชีส์ คิดเป็น 8% ของสปีชีส์พืชทั้งหมดบนโลก ในประเทศไทย พบนก 982 ชนิด นอกจากนี้
ยังเป็นถิ่นที่อยู่ของสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก นก สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม
และสัตว์เลื้อยคลานกว่า 1,715 สปีชีส์ซึ่งมีการบันทึก
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น